มะกล่ำต้น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.
ชื่อวงค์ : FABACAEA
ชื่อสามัญ | Eng : Bead tree, Coral tree, Red lucky seed, Red sandalwood
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ติ๊มันอึน (ลาหู่) อะเบ๊าะสะหละ (อาข่า)
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นหนา สีน้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในนุ่ม สีครีมอ่อน หูใบขนาดเล็ก ร่วงง่าย
ใบ
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อย 8-16 คู่ เรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบไม่สมมาตรกัน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านท้องใบมีนวลเล็กน้อย ก้านใบย่อยสั้น ช่อดอกแคบยาว รูปทรงกระบอก ออกตามซอกใบช่วงบนหรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง
ดอก
ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน มีขนประปราย โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ
ผล
ผลแบบฝัก รูปแถบแบนยาว ฝักแก่แล้วแตกออกเป็นสองตะเข็บ และบิดม้วนงอเป็นเกลียว มีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน เมล็ด 10-15 เมล็ด ติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
เนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเครื่องดนตรีและเครื่องเรือน -ยอดกินสดจิ้มกับน้ำพริก (ลาหู่) -ลำต้น ทำเสา สร้างบ้าน ทนได้ 20 ปี (อาข่า)