หางนกยูงไทย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.
ชื่อวงค์ : LEGUMINOUSAE - CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Barbados Pride , peacock Flower
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ส้มพอ พญาไม้ผุ ขวางยอย
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม ที่มีลำต้นขนาดเล็ก และแตกกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดจะโปร่งกิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่เป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่หรือเปลือกของต้นจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร
ใบ
ใบรวมออกใบเป็นแผงซึ่งแผงๆหนึ่งมีใบย่อยอยู่หลายคู่ แต่ละคู่จะตรงข้ามกัน และใบย่อยตรงส่วนปลายจะไม่มีคู่ ลักษณะใบย่อยจะกลมมน ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตามก้านใบ ก้านใบก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ราวๆ 8-12 คู่ ขนาดของใบย่อยกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว มีสีเขียว
ดอก
ดอกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือส่วนยออดของต้น ช่อดอกจะยาวเกือบ 1 ฟุตได้ ดอกของหางนกยูงมีอยู่หลายสีเช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม มีอยู่ 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ราวๆ 1-1.5 นิ้ว ขอบของกลีบจะยับย่นเป็นเส้นลอนสีเหลือง เกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา
ผล
ผลเป็นฝักแบน และมีเมล็ดอยู่ภายในมาก
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ราก รสเฝื่อน นำมาปรุงเป็นยารับประทานเพื่อขับโลหิตระดู หรือขับประจำเดือน และแก้วัณโรคระยะบวม