กล้วยน้ำว้า

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Musa x paradisiaca L.
ชื่อวงค์ : MUSACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : ฺBanana
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : รามม่ะ (ลีซอ)

ลักษณะวิสัย

ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน

ใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ

ดอก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด

ผล

-

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

กล้วยน้ำว้าสุกงอม เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด หัวปลี ขับน้ำนม -ต้นอ่อนงอกใหม่จากต้นที่ถูกตัดต้มผสมกับกาฝาและพริกไทยดื่มรักษาโรคนิ่ว(ลีซอ)