เตยทะเล

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoratissimus Linn.f.
ชื่อวงค์ : PANDANACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Seashore screwpine.
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : -

ลักษณะวิสัย

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีรากอากาศงอกออกมาจากลำต้น ลำต้นกลมเป็นข้อถี่ๆ

ใบ

ใบเดี่ยวเรียงสลับกระจุกอยู่ที่ปลายยอด รูปขอบขนานเรียวยาวผิวเรียบมัน ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องตามยาว ขอบมีหนามแหลมคม ถี่ ๆ ตลอดใบ ใบประดับสีขาวเรียวยาว เป็นกาบหุ้ม

ดอก

ช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน

ผล

ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุก มองดูคล้ายสับปะรดรูปรี เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแสด

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ราก แก้พิษไข้ พิษเสมหะ พิษโลหิต และขับปัสสาวะ รากอากาศ ปรุงเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ แก้หนองใน แก้มุตกิด(ระดูขาวออกเน่าเหม็น) และแก้นิ่ว ช่อดอกตัวผู้ จัดอยู่ในเกสรทั้ง 9 ใช้ปรุงเป็นยาหอมและบำรุงหัวใจ