พญาสัตบรรณ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R.Br.
ชื่อวงค์ : APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Blackboard tree, Devil tree, Indian devil tree, Milkwood pine, White cheesewood
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ตีนเป็ดไทย เชอกุเชอริ่ง (จีน-เฮกะ) อะโพนิโดะ (อาข่า)

ลักษณะวิสัย

ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบ 4-8 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบ

ดอก

ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง หรือคล้ายช่อซี่ร่ม ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลากแยกเป็น 5 กลีบ เรียงซ้อนทับด้านซ้ายหรือด้านขวา ปากหลอดกลีบมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดบนหลอดกลีบดอก

ผล

ผลเป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว เมล็ดรูปขอบขนาน แบน ขอบมีขนครุย

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ใบ เข้าตำรับแก้อาหารเป็นพิษ อาเจียน ท้องเสีย โดยนำใบมาต้มกับสมุนไพรอื่น และดื่มน้ำต้ม (จีน-เฮกะ) -เปลือกต้นและใบต้มน้ำดื่มช่วยบำรุงน้ำนมให้ผู้หญิงหลังคลอด (อาข่า)