หนาดใหญ่

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Blumea balsamifera (L.) DC.
ชื่อวงค์ : ASTERACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Camphor tree, Ngai camphor
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : อู่เซอล่ะมะ ห่อเส่อเลอะมะ ฮาซังหล่ามะ ซ้าละมะ (อาข่า) ผิงผิงเย่ว (จีน-เฮกะ) เม่งแย่ (จีน) บื่อยะโม๊

ลักษณะวิสัย

ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นเรียบ สีเขียวอมขาว มีขนปุยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปยาวรี ขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ผิวใบทั้งสองด้านมีขน

ดอก

ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ใบประดับยาวกว่าดอกย่อย ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงปลายเป็นเส้นฝอย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีเหลือง ดอกแก่เปลี่ยนเป็นสีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ยื่นพ้นกลางดอก

ผล

ผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

นำใบมาบดละเอียดห่อใบตองแล้วเผา และประคบแก้ผื่นคันจากหนอนแมลง (อาข่า) -ใบปูบนพื้นนั่งทับช่วยขับเลือดลมหลังคลอดลูก (อาข่า) - ราก เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน โดยนำรากมาต้มกับสมุนไพรอื่น แล้วดื่มน้ำต้ม (จีน-เฮกะ) -นำใบมาต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน (จีน) - นำใบมาเข้าตำรับยาอาบเวลาเด็กไม่สบายเป็นไข้ (ลีซอ)