เพกา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อวงค์ : BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Indian trumpet flower, Midnight horror
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : เดี่ยงซ้าง (เย้า) เหล้าหว่าฉั่นเต้า (จีน-เฮกะ) จ่อวะละม่ะ (อาข่า)

ลักษณะวิสัย

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นเรียบ แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม มีรอยแผลที่เกิดจากร่วงของใบ มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป

ใบ

ใบประกอบ 2-4 ชั้น เรียงตรงข้าม ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมยาว โคนใบเบี้ยว

ดอก

ช่อดอกแบบช่อกระจะ ดอกเรียงแน่นที่ปลายช่อ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ติดทน กลีบดอกรูประฆัง สีม่วงอมน้ำตาลแดง ด้านในสีครีม โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด มีปื้นสีน้ำตาลแดง กลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ พับงอกลับ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดประมาณกึ่งกลางหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเมียจัก 2 พูตื้น

ผล

ผลแห้งแตกตามรอยประสาน รูปแถบ แบน เปลือกหนา เมล็ดกลม มีปีกบาง

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ฝักนำมารับประทาน ช่วยในการขับลม บำรุงธาตุ -เปลือกต้น หมักกับข้าว ทำข้าวต้มมัด ให้มีสีเหลือง (เย้า) -ใบ เข้าตำรับยาแก้ปวดเมื่อย โดยการนำใบมาเผาและบดละเอียดกับสมุนไพรอื่นและนำไปประคบบริเวณที่ปวด (จีน-เฮกะ) -ผล นำมาประกอบอาหาร (จีน-เฮกะ,อาข่า)