โครงการสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา
กิจกรรมปกปักษ์ทรัพยากร
พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาจำนวน 2 ลูก ซึ่งเรียกกันว่า “ดอยแง่ม” จึงส่งผลให้ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีความหลากหลายทางชีวภาพ เดิมพื้นที่บริเวณดอยแง่มเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด เป็นต้น จึงส่งผลให้ทรัพยากรป่าไม้เดิมถูกทำลายไปจำนวนมาก เมื่อเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับโอนพื้นที่บริเวณดอยแง่มจากกรมป่าไม้ และได้ดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าด้วยไม้ยืนต้นจำนวนหลายชนิด มีพรรณไม้บางชนิดที่เป็นพรรณไม้เดิมในพื้นที่ รวมถึงกล้วยไม้หลายชนิดที่พบเป็นพรรณไม้เดิมในพื้นที่ แต่เนื่องจากมีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำเกษตรกรรม จึงส่งผลให้ประชากรกล้วยไม้ลดน้อยลง โครงการสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรของกล้วยไม้ในพื้นที่ดอยแง่ม จึงได้ทำการเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้กล้วยไม้จำนวนมาก เพื่อนำไปปลูกคืนสู่ธรรมชาติและปลูกในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ รวมถึงพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรรมชาติวิทยาต่อไป
กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร