อาจารย์รัชชานนท์ นอบนพ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยกร
โครงการระบบนำเสนอพันธุ์พืชในรูปแบบภาพสามมิติ คณะผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านการศึกษา และเข้าชมพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ในสวนพฤกษ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในรูปแบบใหม่ โดยการนำนำเทคโนโลยี 3D Augmented Reality หรือการแสดงภาพเสมือนสามมิติมาใช้ร่วมกับสมาร์ทโฟนหรือเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ สมาร์ทโฟนจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรับภาพสัญญาลักษณ์สองมิติโดยใช้กล้องบนสมาร์ทโฟนเป็นตัวจับภาพ จากนั้นสมาร์ทโฟนก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อส่งสัญญานผ่านเครือค่ายอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องแม่ข่าย เพื่อทำการประมวลผลแล้วทำการดึงข้อมูลภาพสามมิติและเสียงออกมาแสดงผลบนสมาร์ทโฟน เพื่อให้ผู้ใช้ได้มีปฎิสัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ในรูปแบบภาพสามมิติ ซึ่งจะสามารถดูได้ทั้ง 360 องศา พร้อมทั้งมีเสียงประกอบเพื่ออธิบายเนื้อหาลักษณะของต้นไม้นานาพันธุ์ของสวนพฤกษ์ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งปัญหาของการเข้าเยี่ยมชมสวนพฤกษ์ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแบบเดิมนั้น ต้องนำเสนอเนื้อหาต่างๆโดยใช้บุคลากรเป็นผู้บรรยาย และใช้เอกสารคู่มือประกอบการเข้าเยี่ยมชมซึ่ง ซึ่งเป็นในรูปแบบกระดาษสื่อสิ่งพิมพ์พิมพ์ภาพและข้อมูลประกอบ ซึ่งการนำเสนอในรูปแบบนี้สร้างอุปสรรคให้แก่สวนพฤกษ์เป็นอย่างมากในด้านการสิ้นเปลื้องทรัพยากรกระดาษ และทรัพยากรบุคลากร อีกทั้ง ทางด้านผู้เยี่ยมชม ยังได้รับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่ครบถ้วน อันเนื่องมาจากการบรรยายของบุคลากรที่ไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งข้อมูลกระดาษที่ยากต่อการเก็บรักษา และยังไม่ตอบโจทย์การเพิ่มความรู้และความเข้าใจอันเนื่องมาจากภาพที่ไม่ชัดเจน และข้อมูลที่ไม่เพียงพอ จากการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ พบว่า ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ AR (Augmented Reality) เข้ามาช่วยสนับสนุน ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของดิจิตอล เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลกับผู้ใช้งานให้มีความโดดเด่น และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีจำลองภาพในรูปแบบของสามมิติเพื่อให้ผู้ใช้ได้สัมผัสมุมมองของวัตถุในรูปแบบของ 360 องศาเหมือนของจริง เมื่อได้นำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสมาร์ทโฟนก็จะเรียกว่า AR Code เป็นการอ่านข้อมูลของภาพสัญลักษณ์ 2 มิติ เพื่อแปลงออกมาเป็นข้อมูลดิจิตอลในรูปแบบ ภาพเสมือนจริง 3มิติ, ข้อมูลเสียง และ ข้อมูลข้อความ เพื่อแสดงบนมือถือให้ความรู้ และดึงดูดความน่าสนใจของผู้ใช้งาน โดยเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการตลาด และการประชาสัมพันธ์ของต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ทางทีมผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้มีแนวคิดในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ ระบบนำเสนอพันธุ์พืชแบบสามมิติ ด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เข้ามาใช้ในการนำเสนอพันธุ์พืชในสวนพฤกษ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความรู้ และดึงดูดความน่าสนใจในการนำเสนอเนื้อหาพันธุ์พืชในรูปแบบใหม่
กรอบการใช้ประโยชน์