ละมุดสีดา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Madhuca esculenta H.R. Fletcher
ชื่อวงค์ : SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ละมุดไทย

ลักษณะวิสัย

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้น บางครั้งล่อนเป็นแผ่น

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่ ๆ ออกเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปมน รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ปลายใบแหลมทู่มนหรือหยักเว้า แผ่นใบหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านล่างมีนวล

ดอก

ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น ๆ ละ ๒ กลีบ กลีบดอก ๖ กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย

ผล

ผล เป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกระสวย ผลสุกสีแดง เมล็ด รูปไข่หรือรี สีน้ำตาล

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

เปลือก แก้ท้องเสีย, แก้โรคผิวหนัง ผลสุก รับประทานได้