ละหุ่ง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ricinus communis L.
ชื่อวงค์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Castor bean, Castor oil, Palma-christi
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) มะละหุ่ง ม่ะกวงซิ (เย้า) อาน่าคือ (ลีซอ)

ลักษณะวิสัย

ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 เมตร

ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร รูปฝ่ามือ มี 6-11 แฉก

ดอก

ดอกออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่งหรือที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ บางครั้งแยกแขนง มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

ผล

ผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 3 พู รูปไข่ สีเขียว ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ทั้งผล คล้ายผลเงาะ เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว คล้ายตัวเห็บ เนื้อในสีขาว เมล็ดมีพิษ มีน้ำมัน

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ใบ เป็นยาขับน้ำนม แก้เลือดพิการ - ใบ ใส่รองหมวก แล้วสวมใส่หัว บรรเทาอาการเวียวหัว และช่วยให้เย็นศรีษะ (ลีซอ) -ทั้งต้น เข้าตำรับยาอาบผู้หญิงอยู่ไฟหลังคลอด ช่วยบำรุงกำลัง โดยการใช้ทั้งต้นต้มอาบรวมกับสมุนไพรอื่น (เย้า)