หางไหลแดง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Wall.) Benth.
ชื่อวงค์ : FABACAEA
ชื่อสามัญ | Eng : Poison vine, Tuba root
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ) อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี) โหลกอน (เย้า) เหน่ยอ(อาข่า)

ลักษณะวิสัย

ไม้เถาเนื้อแข็ง

ใบ

ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 22.5-37.5 ซม. ใบย่อย 9-13 ใบ รูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม หลังใบเกลี้ยงท้องใบมีขน

ดอก

ดอกช่อกระจะ ยาว 22.5-30 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูประฆังมีขน กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู หายากที่เป็นสีขาว ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบล่างรูปโล่ เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว รังไข่มีขนอุย

ผล

ฝักรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 ซม. ยาว 3.5-8.5 ซม. ตะเข็บบนแผ่เป็นปีก มีเมล็ด 1-4 เมล็ด

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

เถาแก่สด/แห้ง ทุบให้แตกแช่ลงในน้ำ ใช้น้ำนั้นฆ่าแมลง (ซึ่งปลอดภัยต่อผู้ใช้) -นำรากมาต้มน้ำดื่มแก้โรคเก๊า (เย้า) -นำรากหรือทั้งต้นมาทุบโยนลงน้ำเป็นยาเบื่อปลา (เย้า,อาข่า)