หม่อน

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Morus alba L.
ชื่อวงค์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : หม่อน, มอน (อีสาน), ซึมเฮียะ (จีน),White Mulberry, Mulberry Tree

ลักษณะวิสัย

ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด

ดอก

ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน

ผล

ผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ใบ แก้ไอ ระงับประสาท แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง