พลับพลึง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Crinum asiaticum L.
ชื่อวงค์ : AMARYLLIDACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Cape lily, Giant lily, Golden-leaf Crinum lily, Poison bulb, Spider lily
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : จะปะ จย่าปะ (อาข่า) ต่มทะเดีย (เย้า) ตู่หล่าซ้อ (จีน-เฮกะ)

ลักษณะวิสัย

ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบอัดกันแน่น สีขาว

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงรอบลำต้น รูปแถบแคบยาวเรียว ปลายใบแหลม เนื้อใบอวบน้ำ ขอบใบเป็นคลื่น

ดอก

ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ออกกลางลำต้น กาบสีเขียวหุ้มดอกอ่อน 2 กาบ กลีบเลี้ยง 6 กลีบ สีขาว รูปรียาว กลีบดอกเชื่อมติดกันตลอดทั้งกลีบ ดอกบานเต็มที่กลีบจะโค้งเข้าหาก้านดอก เกสรเพศผู้ 6 อัน ชูพ้นหลอดกลีบดอก อับเรณูสีเหลืองเข้ม เกสรเพศเมียตั้งตรงกลางดอก

ผล

ผลทรงเกือบกลม สีเขียวอ่อน

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

-นำใบมาประกอบอาหาร (เย้า) -เข้าตำรับยาแก้ปวดเมื่อย โดยนำใบมาเผาไฟและบดละเอียดรวมกับสมุนไพรอื่น และนำมาประคบ (จีน-เฮกะ) -ดอกบดเข้าตำรับแก้พิษจากสัตว์มีพิษ (อาข่า) -รากและดอกตำประคบข้อเท้าเคล็ด (อาข่า)-เข้าตำรับยาต้มอาบผู้หญิงอยู่ไฟหลังคลอดช่วยบำรุงกำลัง นำใบมาต้มรวมกับสมุนไพรอื่นมาต้มอาบ (เย้า)