กำลังช้างสาร

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Maesa montana A.DC.
ชื่อวงค์ : PRIMULACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : แก่นไจ๋จ่า (เย้า) ชี๊่กุม่ะ (อาข่า) อะปาลีจะซื่อ (ลีซอ)

ลักษณะวิสัย

ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 เมตร

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยหรือหยักซี่ฟัน ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น

ดอก

ช่อดอกออกตามซอกใบและบริเวณเหนือรอยแผลใบ ใบประดับขนาดเล็กมาก รูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายหยักเป็น 5 หยัก รูปไข่ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายหยักเป็น 5 หยัก ค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นแนบติดโคนกลีบดอก รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ

ผล

ผลค่อนข้างรี หรือเกือบกลม ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดทน เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ใบ ทำหมูห่อใบชา และทอด (เย้า) -ยอด เข้าตำรับยาต้มอาบแก้บวม โดยการนำยอดมาต้มอาบรวมกับสมุนไพรอื่น (อาข่า) -ใบ เข้าตำรับยาอาบเวลาเด็กไม่สบายเป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว (ลีซอ)