โครงการศึกษาการขยายพันธุ์พืชหายาก/พืชที่น่าสนใจ ด้วยการขยายพันธุ์ตามปกติโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และโดยวิธีอื่น ระยะเวลา 1 ปี

โครงการสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา

กิจกรรม

กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกจากปรากฎการณณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงทั่วโลก ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมต่อประเทศต่างๆร่วมถึงประเทศไทยที่ประสบปัญหาอุทกภัยและวาตภัยที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาทรัพยากรป่าไม้เป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศในขณะนี้แม้ว่าจะมีการอนุรักษ์ หรือเพิ่มพื้นป่าไม้ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่จากสถิติการบุกรุกพื้นที่ป่า จากกรมป่าไม้ระหว่าง ปีพ.ศ. 2551-2560 มีพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ รวม 107,932.90 ไร่ และพื้นที่ป่าถูกบุกรุก รวม 106,283.44 ไร่ ส่วนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีพื้นที่ รวม 35,607.82 ไร่ ซึ่งมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ เช่น การขยายพื้นที่เกษตรกรรม การใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม การขาดที่ดินทำกิน การบุกรุกของนายทุนเพื่อทำโรงแรม รีสอร์ท การตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐ การลักลอบตัดไม้เพื่อนำมาขาย รวมทั้งพืชต่างถิ่น ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ อาทิ สภาพแวดล้อม อากาศที่เปลี่ยนเปลี่ยน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ความหลากหลากของสัตวนานาชนิด สิ่งมีชีวิตประเภทจุลินทรีย์ และพันธุไม้ลดลง การศึกษาการขยายพันธุ์พืชหายาก/พืชที่น่าสนใจ ด้วยการขยายพันธุ์ตามปกติโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและวิธีอื่น มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชหายากหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมระบบนิเวศป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ ซึ่งการขยายพันธุ์ เป็นวิธีการเพิ่มปริมาณต้นพืชจากต้นที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้พืชดำรงสายพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ และรักษาลักษณะประจำพันธุ์ที่มีในพืชนั้นๆให้คงอยู่ โดยการขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีวิธีการและเทคนิคที่แตกต่างกันตามแต่ละชนิดของพืช

กรอบการเรียนรู้

กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร

คำสำคัญ

วิธีการเพิ่มปริมาณต้นพืช, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    2. เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชหายากหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงให้มีชีวิตรอดและขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

    3. เพื่อขยายพันธุ์พืชที่สามารถผลักดันให้เป็นพืชทำรายได้แก่ผู้คนในชุมชน เกษตรกร

    4. เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์