โครงการจัดการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ต่างๆของจังหวัดเชียงราย
โครงการสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา
กิจกรรม
กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
บทคัดย่อ
มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนมีความสัมพันธ์กับทรัพยากรพืชตั้งแต่เริ่มมีวิวัฒนาการมนุษยชาติ ซึ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นอกจากนี้มนุษย์ยังมีการนำพืชมาใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เครื่องรางของขลัง ความเชื่อต่าง ๆ หรืองานหัตถกรรมพื้นบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม การใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเล่าจากประสบการณ์ของผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้าน จนเกิดเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ปัจจุบันหมู่บ้านที่มีการพัฒนาโดยมีวัฒนธรรมเมืองเริ่มหลั่งไหลเข้ามาทำให้บทบาทของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านลดลง ดังนั้นจึงต้องการมีอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ซึ่งการศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์จากพืชและภูมิปัญญาพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อไม่ให้สูญหายไปกับคนรุ่นหลังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้การรวบรวมข้อมูลดังกล่าวนั้นยังสอดคล้องกับกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรที่ส่งเสริมให้มีการรวบรวมทรัพยากรกายภาพ ชีวภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาต่าง ๆ และยังนำไปสู่กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร เพื่อรักษาทรัพยากรที่มีค่า และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไว้
กรอบการเรียนรู้
กรอบการสร้างจิตสำนึก
คำสำคัญ
พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์, ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2. เพื่อสำรวจและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชของชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย