เกาลัด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sterculia monosperma Vent.
ชื่อวงค์ : STERCULIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : chestnut
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : -
ลักษณะวิสัย
สูง 4-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง มีรอยแผลใบอยู่ทั่วไป
ใบ
ใบเดี่ยวเรียงเวียนกันบริเวณใกล้ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม.
ดอก
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆ รูปคล้ายโคมเล็กๆ ด้านนอกมีขนประปราย เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม.
ผล
ออกรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักมี 2 ผล เมล็ดสีน้ำตาลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร บำรุงลม แก้ร่างกายอ่อนแอ แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด