ตะเคียนทอง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
ชื่อวงค์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Thingan, Sace, Takian, Malabar ironwood, Iron wood.
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : -
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้นที่ไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ความสูง 20-40 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลมหรือเจดีย์ต่ำ
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ รูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปเคียว เนื้อใบค่อนข้างหนา ฐานใบกลมทู่หรือเบี้ยวปลายใบแหลม ท้องใบมีตุ่มใบ ไม่มีขน อยู่ตามง่ามเส้นแขนงใบ
ดอก
เป็นช่อแบบแยกแขนง กลีบดอกสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน เกิดระหว่างง่ามใบตอนปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอก และด้านดอก กลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม มี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
ผล
เป็นผลแห้งและไม่แตก ผลผิวแข็ง ตัวผลเป็นรูปไข่ หรือกลม ผลเกลี้ยง ปลายผลมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 2 ปีก รูปใบพายยาวประมาณ 3.5 ซม. ปลายปีกกว้างและค่อยๆเรียวสอบมาทางโคนปีก ปีกสีน้ำตาล มีเส้นปีกตามยาว 7 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ยาวเท่ากับตัวผล
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
แก่น ซึ่งมีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้สัมประชวร ยาง บดเป็นผงรักษาบาดแผล