มะละกอ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Carica papaya L.
ชื่อวงค์ : CARICACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Papaya, Pawpaw, Tree melon
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แงจองาเบะ (อาข่า)
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น อวบน้ำ มีรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดร่วงไป ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด รูปฝ่ามือกว้าง ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 7-11 แฉก และจักฟันเลื่อย ก้านใบเป็นท่อกลวงยาว
ดอก
ดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ช่อดอกออกที่ซอกใบ ดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ
ผล
ผลสด ทรงรียาว ปลายแหลม ผลดิบเนื้อสีขาวอมเขียว ผลสุกเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม มีเมล็ดมาก ผิวเมล็ดขรุขระ มีถุงเมือกหุ้ม
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ผลสุก เป็นยากันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย - ราก ต้มผสมกัมกับมะหาดและส้านดื่มแก้ปัสสาวะขัด และเป็นยาถ่าย (อาข่า)