ม่วงมงคล
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Melastoma malabathricum L.
ชื่อวงค์ : MELASTOMATACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Malabar melastome, melastoma, Indian-rhododendron
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี) กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี) โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด)
ลักษณะวิสัย
ไม้ดอกล้มลุกประเภทใบเลี้ยงคู่ กิ่งสี่เหลี่ยมมักมีขนปกคลุม
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบ ขั้นบันได ไม่มีหูใบ
ดอก
ดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้(ก้านชูอับละอองเรณู)มีประมาณ 10 เกสรเรียงเป็น 2 วงและมีระยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
ผล
ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ราก ใช้เป็นยาดับพิษไข้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงตับไตและดี