ยางนา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
ชื่อวงค์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Yang
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : : กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี), ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา), เคาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), จะเตียล (เขมร)
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 40 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง ปลายใบสอบเรียว เนื้อใบหนา
ดอก
ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ สีน้ำตาล กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรเพศผู้มี 25 อัน รังไข่มี 3 ช่อง
ผล
ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีก
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
เปลือก ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ตับอักเสบ น้ำมันยาง รักษาโรคเรื้อน หนองใน รักษาแผลเน่าเปื่อย ห้ามหนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ อุดฟัน แก้ฟันผุ ใบ คุมกำเนิด แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน