สำโรง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sterculia foetida L.
ชื่อวงค์ : STERCULIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Bastard poom, Pinari
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : จำมะโฮง มะโรง มะโหรง โหมรง โหมโลง
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ
ใบ
ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 10-30 ซม.
ดอก
ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม.
ผล
ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกผลแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก กว้าง 6-9 ซม. ยาว 8-10 ซม. เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 1.3 ซม. ยาว 2.5 ซม.
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
: เปลือก ขับเสมหะ แก้บิด แก้บวมน้ำ แก้ปวดข้อ เป็นยาระบาย ขับเหงื่อ ใบ ยาระบาย ฝัก รักษาโรคไตพิการ สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้