ทองกวาว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma Taub.
ชื่อวงค์ : LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ | Eng : Flame of the Forest, Bastard Teak
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใบ
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไม่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ
ดอก
ดอกออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม มีความยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ
ผล
ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ดอก : ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก : ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง : แก้ท้องร่วง เปลือก : มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด : บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ : ต้มกับน้ำแก้ปวดขับพยาธิท้องขึ้นริดสีดวงทวาร ราก : ต้มรักษาโรคประสาท