ขี้เหล็กไทย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
ชื่อวงค์ : LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ | Eng : Cassod Tree, Thai Copper Pod
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่ ขี้เหล็กหวาน และขี้เหล็กเผือก
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว
ใบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง
ดอก
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มีหลายอัน
ผล
ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ดอกรักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รากรักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง ลำต้นและกิ่งเป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว เปลือกต้นรักษาโรคริดสีดวงทวาร