บุกคางคก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อวงค์ : ARACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : เย่หยั่งหยี่ (จีน) หยีเค่อ (ลีซอ) บุกะละ (ลาหู่)
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : Elephant yam, Stanley’s water-tub
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก หัวใต้ดินกลมแป้น ลำต้นเหนือดินกลม อวบน้ำ เปลือกต้นสีเขียวลายแต้มสีขาว
ใบ
ใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด แผ่ออกคล้ายร่ม รูปใบหอกหรือแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมยาว
ดอก
ช่อดอกแทงออกจากหัวใต้ดิน ก้านช่อดอกมีลวดลาย สีเขียวหรือสีแดงแกมน้ำตาล ใบประดับหุ้มช่อดอกรูปกรวย ขอบหยักเป็นคลื่น ปลายบานออก ดอกเพศผู้อยู่ด้านบนช่อ ปลายช่อเป็นรยางค์รูปไข่ กลม หรือรูปพีระมิด ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่างช่อ ยอดเกสรเพศเมียรูปไข่ แบน ดอกมีกลิ่นเหม็น
ผล
ผลทรงรียาว ติดเป็นช่อ ผลสุกสีแดง
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
หัว ประกอบอาหาร เอาไปแกง (ลีซอ) , ต้มใส่ปูนขาว (ปูนกินหมาก) เพื่อไม่ให้คันแล้วเอายำ (ลาหู่) , ประกอบอาหาร ใส่ลงในเครื่องปรุงพริกหม่าล่า (อาข่า)