มันสำปะหลัง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta Crantz
ชื่อวงค์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : เดี่ยด่วย (เย้า) มะละกอผะ (ลาหู่)
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว รากสะสมอาหารขนาดใหญ่ ตามลำต้นมีรอยของใบที่หลุดร่วง กิ่งมักมีริ้วสีแดง หูใบรูปใบหอก เรียบหรือมีติ่งแหลม 1–2 อัน ร่วงง่าย
ใบ
ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ มี 3–9 แฉก แฉกรูปใบหอก ปลายแฉกแหลม โคนใบเชื่อมติดกันแบบก้นปิด ก้านใบกลมยาว สีแดงอมม่วง
ดอก
ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 1–5 ช่อ ดอกเพศผู้อยู่ช่วงปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่ที่โคนช่อ ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่ง สีม่วงอมแดง ด้านในมีขน จานฐานดอกมี 10 พู เกสรเพศผู้ 10 อัน เรียง 2 วง ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงแยกหรือเชื่อมติดกันที่โคน รังไข่มี 3 ช่อง ก้าน
ผล
ผลเป็นพู 3 พู รูปรี แห้งแตกเป็น 3 ซีก มีครีบคล้ายปีกตามยาว 6 ปีก ผิวสาก แต่ละช่องมีเมล็ดเดียว เมล็ดรูปสามเหลี่ยม
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ใบนึ่งจิ้มน้ำพริก (เย้า) - หัวนึ่งกิน (เย้า,ลาหู่) - ยอดกินสดกับน้ำพริก ใบดองแบบผักกาด (ลาหู่)