ฝรั่ง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.
ชื่อวงค์ : MYRTACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Guava
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : มาลีก๊ะ (จีน-ลีซอ) มะกู๋ย (ลาหู่) แตมา (อาข่า)
ลักษณะวิสัย
ม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง สีเหลืองอ่อนออกสีเทา กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้นสีขาว เปลือกต้นแก่หลุดลอกออกเป็นแผ่น
ใบ
ใบเดี่ยว เรียนตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว หนา หยาบ ท้องใบมีขนอ่อนนุ่ม สีขาว เห็นเส้นใบชัดเจน
ดอก
ดอกออกดอกเป็นช่อ 2-4 ดอก หรือเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียว ติดทน กลีบดอกสีขาวอมเขียวอ่อน ร่วงง่าย เกสรเพสผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาวเกือบเท่ากลับดอก รังไข่ใต้วงกลีบ
ผล
ผลเดี่ยวแบบมีหลายเมล็ด ทรงเกือบกลมหรือทรงรูปไข่กลับ ผิวเรียบเกลี้ยง ปลายผลมีกลีบกลี้ยงติดทน ผลอ่อนสีเขียวอ่อนหรือเขียวแก่ ผลสุกสีเหลือง เนื้อผลสีเหลือง ขาว ชมพู เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
-เคี้ยวกินแก้ปวดท้อง (จีน-ลีซอ) -เคี้ยวกลืนแก้ท้องเสีย (ลาหู่) -ยอดต้มกับเกลือกินแก้ปวดท้อง ใบเคี้ยวสดแก้ปวดท้อง (ลาหู่) -ยอดนำมาต้มดื่มน้ำแก้ปวดท้อง (อาข่า)