ราชาวดีป่า
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Buddleja asiatica Lour.
ชื่อวงค์ : SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Asian butterfly bush, White butterfly bush, Winter lilac
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : แฮฉะโต่กุ๊ (ลาหู่) ออมเพาะ (อาข่า) ปิ้งเปี่ย (ลีซอ) ฉี่่เหลี่ยงปา (จีน)
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 เมตร กิ่งโปรง มีขนกระจุกสั้นนุ่มหนาแน่นตามกิ่งอ่อน
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแคบ โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านล่างใบมีขน
ดอก
ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกจากซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาว จำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดขนาดเล็ก ปลายแยกเป็น 4 กลีบ กลม ขอบเรียบหรือจักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ปลายเรียวยาวเป็นก้านเกสรเพศเมีย
ผล
ผลแห้งแตก รูปรี
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ทุบใบแล้วน้ำไปเบื่อปลา (ลาหู่,อาข่า) -ตำใบให้เป็นฟองใช้หมักผมรักษาเหา (อาข่า) -ต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน และปัสสาวะขัด (เย้า) -เข้าตำรับยาอาบน้ำให้เด็กเกิดได้ 3 วัน 1 เดือน และ 1 ปี แม่อาบเพื่อบำรุงผิวพรรณ ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น (จีน)