สะพ้านก๊น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sambucus javanica ssp. chinensis (Lindl.) Fukuoka
ชื่อวงค์ : VIBURNACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : ตุ่งแจ่ (เย้า) ฉี่เฟิงเซาว์ (จีน-เฮกะ) ไอเนยเพียะ ซื่อวาละ (ลีซอ) หนะโดะมา (ลาหู่)
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร
ใบ
ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 9 ใบ เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบย่อยรูปรียาว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง
ดอก
ดอกสีขาวหรือสีครีม ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมเป็นหลอดตื้น ติดทน กลีบดอกโคนเชื่อมกันปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสร้พศผู้ 5 อัน อับเรณูสีเหลืองอยู่ภายในหลอด ยอดเกสรเมียแยกเป็น 3 แฉก
ผล
ผลสดทรงรูปไข่ สีดำ มี 3 เมล็ด
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ทั้งต้น เข้าตำรับยาอาบผู้หญิงอยู่ไฟหลังคลอด ช่วยบำรุงกำลัง โดยการนำทั้งต้น (เย้า) - ใบ เข้าตำรับยาอาบเวลาเด็กไม่สบายเป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว (ลีซอ),เข้าตำรับยาต้มอาบแก้บวม (อาข่า),-นำใบมาเผาประคบเพื่อถอนพิษ (ลาหู่) -ราก เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน โดยการนำรากมาต้มดื่มกับสมุนไพรอื่น (จีน)