ปอกระสา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Broussonetia papyrifera (L.) L'Hér. ex Vent.
ชื่อวงค์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Paper mulberry
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : นัก (เย้า) มาสะ (อาข่า)
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง หูใบรูปไข่ ร่วงง่าย
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด ห้อยลง สีขาว ใบประดับรูปลิ่มแคบ กลีบรวมรูปไข่
ดอก
ช่อดอกเพศเมียแบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อสั้น ใบประดับรูปขอบขนาน วงกลีบรวมปลายแยกเป็น 4 แฉกตื้น เชื่อมติดก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน รูปแถบ ลดรูป 1 อัน มีขนสั้นนุ่ม
ผล
ผลทรงกลม มีขน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก มีขนสั้นนุ่มและขนเครา
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
เปลือกใช้ทำกระดาษสา ใช้ในงานศิลปะต่างๆ เมล็ดเป็นอาหาราของนกและกระรอกได้ดี -สับยอดออ่นผสมกับอาหารหมู (เย้า) -นำเปลือกมาลอกเอาส่วนเส้นใยเพื่อทำเชือกมัดของ (เย้า) -ประกอบอาหาร ทำแอ๊บใส่ถั่วเน่า (อาข่า)