มะม่วงหิมพานต์

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale L.
ชื่อวงค์ : ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Cashew nut tree
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง) ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่

ลักษณะวิสัย

ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือก เปลือกเรียบ สีน้ำตาล

ใบ

ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง

ดอก

ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม

ผล

ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้

นิเวศวิทยาที่เหมาะสม

-

การกระจาย

-

ประโยชน์

ยางจากผลสดและจากต้น เป็นยารักษาหูด ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต