เร่ว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.
ชื่อวงค์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ | Eng : Bustard cardamom, Tavoy cardamom
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)
ลักษณะวิสัย
พืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง
ใบ
ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า
ดอก
ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น
ผล
ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
เมล็ดจากผลที่แก่จัด เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร