ก่อแป้น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Castanopsis diversifolia (Kurz) King ex Hook.f.
ชื่อวงค์ : FABACAEA
ชื่อสามัญ | Eng : -
ชื่อพื้นเมือง (ทั่วไป) : มะเต๊อ (ลาหู่) จึกะอะเบาะ ห่อทุงมะอะเบ๊าะ (อาข่า)
ลักษณะวิสัย
ไม้ต้น สูงได้ 30 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแก่ ผิวค่อนข้างเรียบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่นและมีช่องอากาศทั่วไป หูใบเรียวแหลม ด้านนอกมีขน
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมน หรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเกลีี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย
ดอก
ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อ หรือช่อเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้แยกแขนง ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอมอ่อน ติดกระจายหรือเป็นกระจุก
ผล
ผลทรงกลม ติดกระจายตามแกนช่อผล กาบหุ้มผลหุ้มมิดตัวผล ยกเว้นบริเวณปลายยอด ผิวกาบคลุมด้วยหนามที่ไม่แยกแขนงหนาแน่น หนามเหยียดตรงหรือโค้งเล็กน้อยและมีขนปกคลุม กาบไม่แยกเมื่อผลแก่จัด ในแต่ละกาบมีผลรูปรี 1 -3 ผล ผิวผลเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณส่วนปลายผล
นิเวศวิทยาที่เหมาะสม
-
การกระจาย
-
ประโยชน์
ผลคั่วกิน เปลือกต้นตากแห้งคนแก่ให้เคี้ยวเล่น(ลาหู่) -ดอกเอาไปใช้ในประเพณียะก่อเว(ลาหู่) -ใช้ยอดอ่อนมาต้มและเคี่ยวให้แห้ง ใช้แทนปูนกินหมาก(อาข่า) -ลำต้นใช้ทำลูกข่างในประเพณีปีใหม่ลูกข่างของชาวอาข่า และใช้สร้างบ้าน(อาข่า)